เมนู

3. อัปปฏิฆธรรม เป็นปัจจัยแก่สัปปฏิฆธรรม ด้วย
อำนาจของอธิปติปัจจัย

มีอย่างเดียว คือที่เป็น สหชาตาธิปติ ได้แก่
คือ อธิปติธรรมที่เป็นอัปปฏิฆธรรม เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูป
ทั้งหลาย ที่เป็นสัปปฏิฆธรรม ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย.
4. อัปปฏิฆธรรม เป็นปัจจัยแก่สัปปฏิฆธรรม และ
อัปปฏิฆธรรม ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย

มีอย่างเดียว คือที่เป็น สหชาตาธิปติ ได้แก่
อธิปติธรรมที่เป็นอัปปฏิฆธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และ
จิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย ที่เป็นสัปปฏิฆธรรม และอัปปฏิฆธรรม ด้วยอำนาจ
ของอธิปติปัจจัย

4. อนันตรปัจจัย


[236] 1. อัปปฏิฆธรรม เป็นปัจจัยแก่อัปปฏิฆธรรม ด้วย
อำนาจของอนันตรปัจจัย

คือ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอัปปฏิฆธรรม ที่เกิดก่อน ๆ ฯลฯ เป็นปัจจัย
แก่ผลสมาบัติ ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย.

5. สมนันตรปัจจัย


[237] 1. อัปปฏิฆธรรม เป็นปัจจัยแก่อัปปฏิฆธรรม ด้วย
อำนาจของสมนันตรปัจจัย

6. สหชาตปัจจัย ฯลฯ 8. นิสสยปัจจัย


[238] 1. สัปปฏิฆธรรม เป็นปัจจัยแก่สัปปฏิฆธรรม ด้วย
อำนาจของสหชาตปัจจัย
มี 9 วาระ.
ฯลฯ เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของอัญญมัญญปัจจัย มี 6 วาระ.
ฯลฯ เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของนิสสยปัจจัย มี 9 วาระ.

9. อุปนิสสยปัจจัย


[239] 1. สัปปฏิฆธรรม เป็นปัจจัยแก่อัปปฏิฆธรรม ด้วย
อำนาจของอุปนิสสยปัจจัย

มี 2 อย่าง คือที่เป็น อารัมมณูปนิสสยะ และ ปกตูปนิสสยะ
ที่เป็น ปกตูปนิสสยะ ได้แก่
บุคคลเข้าไปอาศัยอุตุ ฯลฯ เสนาสนะแล้ว ให้ทาน ฯลฯ ทำลายสงฆ์.
อุตุ เสนาสนะ เป็นปัจจัยแก่ศรัทธา ฯลฯ แก่ผลสมาบัติ ด้วยอำนาจ
ของอุปนิสสยปัจจัย.
2. อัปปฏิฆธรรม เป็นปัจจัยแก่อัปปฏิฆธรรม ด้วย
อำนาจของอุปนิสสยปัจจัย

มี 3 อย่าง คือที่เป็น อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และ
ปกตูปนิสสยะ
ที่เป็น ปกตูปนิสสยะ ได้แก่
บุคคลเข้าไปอาศัยศรัทธาแล้ว ให้ทาน ฯลฯ ถือทิฏฐิ.